สอนภาษาให้ลูก เรื่องเล่าหนอนหนังสือ6 : หมอแพมชวนอ่าน
.
ตอนนี้การเรียนรู้ด้านภาษาของเด็กที่บ้านเดินทางมา
จนกระทั่ง อยากเรียนรู้ภาษาเขียนแล้วค่ะ
.
หมอจะเริ่มบันทึกการสอนภาษาให้ลูก
เผื่อว่าแม่คนไหนอยากจะมาแชร์กันนะคะ
วันนี้จะเป็นบทแรก…ยาวนิดนะคะ
.
การเรียนรู้ภาษาของเด็ก(ของมนุษย์ทุกคนแหละค่ะ)
ต้องเริ่ม
1) ฟังและเห็น: เริ่มตั้งแต่ก่อนลูกเกิด เด็กจำเสียงแม่ได้ตั้งแต่ก่อนคลอดซะอีก พอเกิดมา การที่แม่พูดกับเค้า เค้าได้สบตา
ฟังเสียง อ่านริมฝีปาก และเรียนรู้ศัพท์ ผ่านทางน้ำเสียง ท่าทาง
น้ำเสียงแบบนี้ ท่าทางแบบนี้ คำๆนี้ แปลว่าดี
ถ้าน้ำเสียงแบบนี้ มาคู่กับคำๆนี้ คือ ห้าม ทำไม่ได้ เป็นต้น
สิ่งนี้ ช่วยกระตุ้นให้การเรียนรู้ภาษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งได้ฟังนิทาน ได้ฟังรูปประโยค และเรียนรู้คำศัพท์ ที่หลากหลาย ยิ่งทำให้การเรียนรู้ภาษาดียิ่งขึ้น…จึงมีโครงการนิทาน 1000 เล่มก่อน 6 ปีไงคะ เพราะสมองที่เร็วกับการเรียนรู้ภาษาคือก่อน 6 ขวบ
.
2) พูด: พอเริ่ม พูดได้ เด็กๆจะยิ่งเห็นความสำคัญของภาษา
เค้าจะรับรู้เลยว่า การพูดได้ ทำให้ตัวเองทรงพลังมากขึ้น(อย่างน้อยก็ในบ้าน) บอกความต้องการได้ บอกปฏิเสธได้
เค้ารู้สึกราวกับเค้าเป็นผู้ใหญ่…จังหวะนี้ล่ะค่ะ
ยิ่งต้องใกล้ชิด เพราะเราสามารถสื่อสารกับลูกได้เข้าใจ
ว่าสิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร เราสอนทุกเรื่องได้โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือ
และในช่วงนี้เด็กจะมีความกระตือรือร้น
ถาม แล้วมีคนตอบคำถาม
พูดแล้วมีคนฟัง
และตอบสนองสิ่งที่ต้องการ เป็นสิ่งที่วิเศษจริงๆ
(เด็กๆคงคิดแบบนี้)
.
3) อ่าน เมื่อเค้าได้”ฟัง” และ “พูด” แล้วมีคนตอบสนองมากพอ
พอเด็กฟังนิทาน เค้ารู้ว่าแม่อ่านตัวอักษร
เค้าจะเรียนรู้ว่า ตัวอักษรเหล่านั้น คือสัญลักษณ์ ที่แทนเสียง
และความหมาย
.
แม่อ่าน นิทานเรื่องนี้ก็เนื้อเรื่องเหมือนกับ ที่พ่ออ่าน ที่ยายอ่าน
ใครๆอ่าน ก็ได้เนื้เรื่องที่สนุกเหมือนกัน
แล้วถ้าเค้าอ่านได้เองล่ะ?
.
นี่ล่ะค่ะ…ความกระตือรือร้นของการเรียนรู้ ภาษาเขียนถึงเกิด
4) เขียน ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง การเขียนคัดลายมือตามรอยประ
แต่การเขียน หมายถึง การบันทึกความคิดลงบนกระดาษ
ซึ่งจะถึงขั้นนี้ได้ คงต้องผ่านกระบวนการ 1-3 มาอย่างสม่ำเสมอ
.
ตอนนี้เด็กที่บ้าน ส่งสัญญาณว่า
ต้องการจะเข้าใจภาษาเขียน
.
แน่นอนค่ะ การเข้าใจภาษาเขียน
เค้าต้องรู้จักสัญลักษณ์ แทนเสียงก่อน”
Know(รู้จัก) –>Knowledge(ความรู้)–>skill (ทักษะ)–>innovation(คิดค้นสิ่งใหม่)
.
ดังนั้นขั้นแรกต้องจำตัวอักษร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงก่อน
แน่นอน การจำอักษร ไม่ใช่การท่อง อาขยาน
“ก เอ๋ย ก ไก่…ฮ.นกฮูกตาโต”
แต่คือ เห็นปุ๊บ แล้วจำได้เลย ว่า ตัวอักษรนี้แทนเสียงอะไร
แม้ว่าจะเห็นตรงไหน และลำดับอย่างไร
.
หมอเลยเริ่มที่ ให้ทำความรู้จักตัวอักษร
โดยใช้เกมส์ต่างๆ เก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆค่ะ
เลือกตัวอักษร 5-6 ตัว
เกมส์วันนี้ “เอาตัวอักษรกลับบ้าน”
อุปกรณ์
กล่องพลาสติก ซื้อจากร้านทุกอย่าง 20 บาท (ตกกล่องละ 5 บาท ซื้อสัก 8 กล่องก็พอค่ะ เล่นวนตัวอักษรไป ต้องเว้นจังหวะเปลี่ยนเกมส์อื่นด้วย เด็กๆไม่ชอบอะไรซ้ำๆ)
โปสเตอร์ ก-ฮ 20 บาท เอามาตัดรูป เพื่อติดฝากล่อง (เก็บไว้ใช้ได้หลายเกมส์)
ตัวอักษร..จะทำเอง หรือ ของที่บ้านเป็นตัวอักษร ร้อยเชือก
(เอาไว้เล่นหลายเกมส์เหมือนกัน)
.
ลองดูค่ะ
ถ้าเพื่อนๆมีเกมส์อะไรสนุกๆมาแชร์กันนะคะ
.
หมอแพม
ผู้คิดว่า การสอนภาษาที่ดีที่สุด เริ่มจากที่บ้าน
.
แหล่งข้อมูล FB หมอแพมชวนอ่าน
จำนวนการเข้าชม :
827 ครั้ง
แชร์หน้านี้