จากการวิเคราะห์เนื้อหาหนังสือภาพที่ได้รับการคัดสรรจากแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
สรุปความเป็น “บทเรียน” ในการเตรียมความพร้อมให้เด็กอย่างกว้างๆ ได้ ๒ ลักษณะ คือ
๑.ให้เด็กรู้จักและเข้าใจตนเอง (ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา/อารมณ์/สุขภาพร่างกาย)
๒. ให้เด็กรู้จักและเข้าใจสังคมรอบตัว (ส่งเสริมทักษะ/พัฒนาการทางสังคม)
ซึ่งทั้งสองส่วนโยงใยสัมพันธ์กัน ภายใต้บริบททางสังคม (ของผู้เขียน)
ลักษณะเด่นของสังคมไทย คือ เป็นสังคมที่มีน้ำใจต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และมีความ เอื้ออาทรต่อกันและกัน
เนื้อหาของหนังสือที่แต่งโดยคนไทยจึงมีแนวคิด (แก่นเรื่อง) ในเรื่องความมีน้ำใจมากที่สุด
สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของผู้เขียน (คนไทย) ที่ต้องการปลูกฝังและขัดเกลาเด็ก
ตามค่านิยมของสังคม เมื่อพิจารณาในประเด็น หน้าต่างแห่งโอกาส (windows of opportu nity)
ก็พบว่า หนังสือที่แต่งโดยคนไทยมีประเด็นในเรื่อง การสร้างความผูกพัน มากกว่าประเด็นอื่นๆ
ความมีน้ำใจและการสร้างความผูกพัน เป็นฐานของสังคมระบบอุปถัมภ์นั่นเอง
แหล่งข้อมูล แก่นสาระและสุนทรียภาพหนังสือเด็กปฐมวัย มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน