#ไม่ใช่อ่านแล้วดีต่อสมองแต่_สร้าง_โครงสร้างสมองที่มีประสิทธิภาพ
หมอชอบสุนทรพจน์ ที่ Steve Jobs
พูดที่มหาวิทยาลัย Standford ในปี 2005
โดยเฉพาะเรื่อง connecting the dots
เรื่องที่เค้าไปเรียนคอร์สการออกแบบตัวอักษร
ซึ่งหลังจากนั้น 10 ปี
ความรู้ในการออกแบบตัวอักษรนี้
ทำให้คอมพิวเตอร์ที่เค้าออกแบบ มีตัวอักษรที่สวยที่สุด
.
ฟังเรื่องนี้แล้ว หมอคิดว่าหลายๆคน
คงย้อนมานึกถึงเรื่องของตัวเอง
บางครั้ง เรื่องที่เราเลือกที่จะทำมันในอดีต
ณ ตอนนั้นเราอาจจะไม่รู้ว่า มันจะส่งผลต่อชีวิตเราอย่างไร
แต่เมื่อ เวลาที่เหมาะเจาะมาถึง
บางครั้งสิ่งเล็กๆ ที่เรายังไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าเรารู้ไปทำไม
กลับกลายเป็นสิ่งที่สำคัญที่ผลักดันชีวิตของเรา
.
วันนี้ของพวกเรา มีผลจากเมื่อวานเสมอ
.
ถ้าใครที่มีโอกาสได้ดูแลเด็กแรกเกิด เป็นเวลาหลายๆปี เหมือนกับหมอ
คงเข้าใจความรู้สึก อิน #เรื่องสมองเด็ก เหมือนกัน
หมอชอบมองเด็กแรกเกิด
เด็กแรกเกิด มีแววตา เหมือนกันทุกคน
พร้อมที่จะ connect กับตาใครสักคนที่เข้าไปในระยะที่เหมาะสม
เป็นการสบตาที่ลึกซึ้ง เริ่มเก็บข้อมูล ว่าหน้าตาไหน ที่จะให้เค้ามีชีวิตรอด
นับตั้งแต่วันที่แม่คลอดเค้าออกมา เป็นมนุษย์คนหนึ่ง
ไม่ว่า เชื้อชาติไหน ยากดี มีจน
สิ่งที่จะกำหนดว่าเค้าจะเป็นมนุษย์ที่มีความสุขในชีวิต
ประสบความสำเร็จหรือไม่
คือประสบการณ์และข้อมูลที่สมองเด็กได้รับต่อจากนี้
.
หมอเข้าไปอ่านบทความใน website ของศูนย์ศึกษาเรื่องพัฒนาการในเด็ก
ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (Center on the Developing Child, Havard university) กล่าวอย่างหนักแน่นว่า
ประสบการณ์ในเด็ก #สร้าง โครงสร้างสมอง (Experiences Build Brain Architecture)
.
เพราะเซลล์สมองเด็กเล็ก
จะต้องเพิ่มจำนวน และ เพิ่มขนาด และเพิ่มการเชื่อมโยง
สิ่งที่รับเข้าในในวัยแรกเริ่มของชีวิต
เป็นข้อมูลที่สมองวันนี้ ใช้เป็นรากฐาน ในการมีชีวิตในวันถัดไป
สมองรับข้อมูล มาจากอวัยวะรับสัมผัส
ตาดู หูฟัง ปากชิม ผิวสัมผัส จมูกรับกลิ่น จิตรู้สึก
ข้อมูลที่ดี ทำให้เซลล์สมองเติบโตดี เพิ่มการเชื่อมโยง
ในทางตรงข้าม ถ้ามีประสบการณ์ที่ไม่ดี
กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนความเครียด
ถ้าภาวะเครียดนั้นเกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนาน จะทำให้เซลล์สมองเสียหาย
บางกรณี ถึงกับทำให้การเจริญเติบโตของเซลล์สมอง หยุดชะงัก
.
ถ้าเช่นนั้น
เราสามารถสร้างประสบการณ์ดีๆให้กับสมองลูกได้อย่างไร
นี่เป็นสิ่งง่ายๆ ที่ทำงานวิจัยเรื่องส่งเสริมพัฒนการสมองเด็กปฐมวัยสักกี่ครั้งก็คงได้ผลเหมือนเดิม
เป็นเรื่องง่ายๆ ไปต้องไปเข้าคอร์สเรียนใดๆ
1. สายสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
2. การโอบกอด สัมผัส ที่อ่อนโยนจากพ่อแม่
3. เป็นตัวอย่างที่ดี ทำตัวเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีของลูก
(เป็นตัวเราเองในเวอชันที่ดีขึ้นทุกวัน ไม่ต้อง perfect แต่พัฒนาขึ้นทุกวัน)
4. เล่นกับลูกให้สนุก อย่าไปคิดมากว่าเล่นแล้วลูกจะได้พัฒนาด้านไหนบ้าง
แค่ได้ยิ้มหัวเราะ มีความสุขด้วยกัน ที่เหลือจะตามมาเอง
5. อ่านหนังสือกับลูก
.
ในฐานะที่หมอเปิดเพจมา
เพื่อมาแชร์ประสบการณ์ และอยากให้พ่อแม่อ่านนิทานให้ลูกฟังมากขึ้น
หมออยากจะชี้ให้เห็นว่า
ทำไมอ่านหนังสือกับลูก
จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่ง
ต่อการเติบโตของคนคนหนึ่ง
ลองมาวิเคราะห์ปัจจัย 5 อย่างข้างต้น
การอ่านหนังสือด้วยกัน เป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับลูก
ด้วยความจริงที่ว่า ตอนอ่านหนังสือ ทั้งเราและลูกอยู่ในภาวะผ่อนคลาย
คงไม่มีใคร ตีลูกไป อ่านนิทานไป เพราะฉะนั้นเวลาอ่านหนังสือด้วยกัน
เป็นเวลาแห่งความสุขสำหรับเด็ก
อ่านหนังสือ ให้ลูกนั่งตัก หรือนอนอยู่ใกล้กับ ลูกได้ยินเสียงแม่ เห็นภาพ ได้กลิ่นแม่ ได้สัมผัสหนังสือ ได้สัมผัสแม่
บางครั้งได้ชิมหนังสือ ในภาวะที่จิตใจเป็นสุข พร้อมเรียนรู้อย่างยิ่ง เป็นการรับข้อมูลจากประสาทสัมผัสทุกส่วน
หนังสือ บางครั้ง ก็แปลงมาเป็นของเล่น
เพราะฉะนั้น ถ้าจะพูดว่า สำหรับเด็กเล็ก
#หนังสือเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพมากในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับสมองลูก
ก็คงจะไม่ผิด
.
แล้ว สิ่งที่ได้รับจากหนังสือ จะอยู่ในตัวลูก
ทั้งความรู้ และความรัก
รอวันที่จะเกิด connecting the dot ในชีวิตเค้าแน่นอนค่ะ
แหล่งข้อมูล FB หมอแพมชวนอ่าน (พญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี)