เมื่อรู้จักลักษณะการเรียนรู้ของเด็กแล้ว ครูต้องสามารถสร้างบรรยากาศห้องเรียนที่รุ่มรวยภาษาอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดอยู่ก็ตาม ผ่านการกระทำ เช่น
– เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดมากกว่าแค่การถามตอบ
– เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุยและเรียนรู้จากกันและกัน
– การวางแผนร่วมกันที่เด็กจะได้ปฏิสัมพันธ์ผ่านการอ่านและเขียน
– รอบคอบกับภาษาและวิธีการพูดที่ใช้กับเด็กๆ
– ถามคำถามที่ไม่ได้มีคำตอบเดียว และถามเพื่อให้เด็กได้อธิบายความคิดให้ชัดเจน หรือเพื่อคาดเดา หรือตีความ
– ตอบสนองต่อเด็กด้วยคำชื่นชมและความเป็นห่วงเป็นใย
ท่าทีและปฏิสัมพันธ์เช่นนี้จะช่วยวางรากฐานการอ่านเขียนที่มั่นคงให้กับเด็กๆ ได้เป็นอย่างดีค่ะ
จากที่แม่หมีเล่ามาทั้ง 3 ตอน จะเห็นว่า #ครูไม่ได้สอนแค่การอ่านเขียน
แต่ครูเป็นทั้งต้นแบบ เป็นตัวอย่าง เป็นสื่อ และเป็นอิทธิพลหลักในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการอ่านและการเขียนของเด็ก และสิ่งที่เกิดขึ้นภายในห้องเรียนก็จะถูกกำหนดด้วยความเชื่อและความเข้าใจของครู ดังนั้นครูจึงต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าภาษาสำคัญต่อชีวิตแค่ไหนและอย่างไร เด็กมีกระบวนการเรียนรู้และมีลำดับขั้นของพัฒนาการการอ่านอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการเด็กอย่างแท้จริง
ครั้งหน้าแม่หมีจะมาเล่าให้ฟังถึงหน้าที่สำคัญอันหนึ่งของครู
นั่นคือ การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนให้เอื้อต่อพัฒนาการด้านอ่านเขียนของเด็กค่ะ
แหล่งข้อมูล FB อ่าน อาน อ๊าน