ลายเส้นเก่าๆ (historical) เป็นบริบท (contextual) โดยผู้เขียนเก่าแก่ซึ่งเป็นที่รู้จัก
บริบทของลายเส้น : นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
เสาร์อีกแล้ว
เสาร์อีกแล้ว
เดินร้านหนังสือริมถนนที่เคยซื้อประจำมา 30 ปีเมื่อเสาร์ที่แล้ว
นิตยสารน้อยลงมาก หนังสือน้อยลงมาก หนังสือพิมพ์น้อยลงมากๆ คนซื้อน้อยลงไปอีก
พบนิทานประกอบภาพปกแข็งขนาดเล็ก เล่มละ 50 บาท เท่านั้น
และชื่อ อ วิริยะ สิริสิงห ชมรมเด็ก หยิบมายืนอ่าน ประเวศน์ หนูจีนวาด
ไม่เห็นงานของ อ วิริยะและชมรมเด็กมานาน
ก่อนโควิดคงหาหนทางโดดเด่นบนแผงยาก ยุคโควิดคงไปกันใหญ่
เรื่องนี้เล่าเรื่องลูกหมีไม่ยอมนอนบ้านตัวเอง หอบหมอนจะไปนอนที่อื่นให้ได้!
วัยเด็กของตาหมอ เติบโตมากับหนังสือของ อ วิริยะ นี่แหละครับ
มีหลายเล่ม เห็นอีก 2 เล่มของ เจิด มหาเกตุ ไม่เห็นงานของท่านมานานมากแล้วเช่นกัน
เล่มแรกเรื่อง ไปโรงเรียนกันเถอะ เขียนโดยแพงขวัญ เรื่องนี้เล่าเรื่องผีน้อยไม่ยอมไปโรงเรียน 555
ลายเส้นสยองขวัญ อีกเล่มเรื่อง ประภาคาร ลายเส้นเดิมๆมาก อ่านแล้วนอสตาลเจียน่าดู
รูปพานาโรมาพ่อนำเรือเข้าฝั่งอย่างสวย
แพงขวัญเขียนอีกเล่ม แพงขวัญเขียนไว้เยอะ สนุก เรื่องที่ชายทะเล
เรื่องนี้เล่าเรื่องเด็กๆไปก่อกองทรายที่ทะเล เขียนคำคล้องจองง่ายๆ เพราะๆ
แล้วหักมุมตอนจบ อ้าว หมดกัน!
เป็นงานลายเส้นเก่าๆ เนื้อเรื่องเก่าๆ วางซุกในมุมร้านหนังสือริมถนนเก่าๆ ที่เคยรุ่งเรืองในอดีต
จะมีสภาพเป็นส่วนหนึ่งของข่าวสารที่ “เรื่อง” และ “ภาพ” ส่งออกมา
ยกตัวอย่างเรื่องผีน้อย ผีน้อยต้องไป รร ไม่มีทางอื่น ไม่ไปก็จะบินไม่ได้เหมือนเพื่อนๆ
อยากบินได้ต้องไป รร เท่านั้น ไม่มีทางอื่นเลย
ความจริง (factual) คือโฮมสคูลยังไม่มีในโลกของนิทานเล่มนี้
เพราะอะไร? เพราะ “ลายเส้น” มันบอก (Jen Aggleton,UK, 2018)
แหล่งข้อมูล FB นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จำนวนการเข้าชม :
863 ครั้ง
แชร์หน้านี้