#อ่านนิทานก่อนนอน_เด็กรับรู้ข้อมูลในคลื่นสมองที่เหมือนกับนั่งสมาธิ
หลายๆคนแปลกใจที่ลูกจำรายละเอียดเล็กๆน้อยๆในนิทานได้แม่น
แม้ว่าตอนที่เราอ่าน เหมือนเค้าจะเคลิ้มๆ
จนเราไม่แน่ใจว่าได้ยินสิ่งที่เราอ่านรึเปล่า
หรือ คิดว่าลูกเคลิ้มใกล้หลับแล้ว แต่พออ่านผิด หรืออ่านข้าม
เจ้าตัวกลับท้วงซะอย่างนั้น
เพราะอะไร?
ช่วงเวลาก่อนเข้านอน เมื่อร่างกาย และจิตใจได้ผ่อนคลาย
คลื่นสมองจะปรับความเร็วลดลง
ตอนกลางวัน
คลื่นสมองมีความถี่สูง (beta) เพราะเราตอบสนองได้ไวต่อสิ่งแวดล้อม
แต่เมื่ออยู่ในภาวะเคลิ้ม เกือบหลับ คล้ายกับอยู่ในภวังค์
คลื่นสมองจะลดความถี่ลง
เรียกว่าคลื่น แอลฟา ( 9-13 เฮิร์ท) และ ธีต้า (4-8 เฮิร์ท)
ซึ่งคลื่นสมองที่ช้าลงนี้ เป็นคลื่นสมองเหมือนเวลาที่เราทำสมาธิ
โดยเฉพาะคลื่นธีต้า ที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราทำสมาธิได้ในระดับลึก
ร่างกายจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าลดลง แต่จะ focus กับสิ่งที่กำลังจดจ่อ
เสียงเล่านั้น จะไปเชื่อมโยงกับคลังภาพ
สมองในคลื่นแอลฟาและธีต้า
เชื่อมโยงกับจิตใต้สำนึก…ซึ่งเป็นคลังแห่งจินตนาการ
คุ้นมั้ยคะ?
ความสุข สมาธิ และจินตนาการ คือปัจจัยที่ทำให้เด็กเรียนรู้ได้สูงสุด
■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡
แหล่งข้อมูล FB หมอแพมชวนอ่าน