ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ โลตัส
9 กิจกรรม เสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกน้อยให้เติบโตสมวัย
เมื่อพัฒนาการเป็นสิ่งสำคัญต่อวัยเจริญเติบโตของลูกน้อย บางครั้งคุณแม่อาจคิดไม่ออกว่าจะให้ลูกเล่นหรือทำกิจกรรมแบบไหนที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของลูกได้ ครั้งนี้เลยมี 9 กิจกรรมที่จะช่วยเสริมพัฒนาการของลูกน้อยมาให้ลองเล่นกันดูค่ะ
1. กิจกรรมชวนลูกน้อยมาร้องและฟังเพลง
การร้องเพลงช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษาและเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง คุณแม่ลองเปิดเพลงหลายๆ แนว ฟัง ร้อง และเต้นตามเพลงไปด้วยกัน ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อของร่างกายและการได้ยินของลูกน้อย
2. กิจกรรมวาดภาพ ศิลปะ
สร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของลูกน้อย ฝึกการใช้สายตาให้สัมพันธ์กับมือ เด็กๆ สามารถใช้จินตนาการสร้างบ้าน ปราสาท ตัวการ์ตูน และอื่นๆ ทำให้ลูกน้อยมีความสุขและสนุกในการวาดภาพมากขึ้น
3. กิจกรรมบทบาทสมมุติ
การแต่งตัวหรือเปลี่ยนบทบาท เช่น วันนี้ชวนลูกน้อยมาเล่นเป็นคุณหมอ หรือชวนลูกน้อยมาเล่นทำกับข้าว การเล่นบทบาทสมมุติ เป็นการกระตุ้นจินตนาการของเด็กๆ เสริมพัฒนาการทางด้านภาษา และลำดับขั้นตอนการเล่นบทบาทนั้นๆ ได้
4. กิจกรรมชวนเล่นลูกบอล
หาลูกบอลที่มีขนาดแตกต่างกัน เพื่อแทรกการเรียนรู้ของเด็ก ในเรื่องสีและขนาด ให้เด็กเรียงลูกบอลจากขนาดเล็กไปหาใหญ่ กิจกรรมนี้ช่วยเสริมพัฒนาการด้านการจดจำของลูกน้อยได้
5. กิจกรรมฝึกเด็กให้สนุกกับการปีนป่าย
การให้เด็กๆ ได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการปีนป่าย จะช่วยให้เด็กๆ ได้ฝึกทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย และฝึกให้สมองทำงานสอดคล้องกันกับอวัยวะส่วนอื่นอีกด้วย
6. กิจกรรมการอ่าน
เพราะการอ่านทำให้ลูกน้อยสร้างจินตนาการ เช่น อ่านนิทาน เป็นการฝึกทักษะด้านภาษา ฝึกการมองภาพและการรู้จักสิ่งต่างๆ ได้
7. กิจกรรมเล่นต่อจิ๊กซอว์ หรือ ตัวต่อไม้
สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว และเป็นการเสริมสร้างทักษะต่อประสาทตา ฝึกการสังเกต และใช้สมาธิได้อย่างเต็มที่ เด็กๆ จะอยู่นิ่งขึ้นในระหว่างการต่อจิ๊กซอว์ให้เสร็จสมบูรณ์
8. กิจกรรมชวนลูกน้อยไปสนุกกับสนามเด็กเล่น
การให้ลูกน้อยได้เล่นในสนามเด็กเล่นนั้น เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกน้อยได้พัฒนากล้ามเนื้ออย่างเต็มที่พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพทางสังคม การได้พบกับเพื่อนใหม่ๆ แถมคุณแม่ยังสามารถสอนลูกน้อยให้รู้จักการแบ่งปันของเล่นให้คนอื่นหรือการรอคิวเล่นนั่นเอง
9. กิจกรรมช่วยควบคุมจังหวะ
สำหรับเด็กๆ เริ่มที่จะรับรู้การจับจังหวะต่างๆ การเคลื่อนไหวร่างกายให้มีจังหวะมากขึ้น เช่น การยืนยืดตัวให้สุด และค่อยๆ ทำตัวให้เตี้ยลง จนเตี้ยลงสุด หรือการออกเสียงจากเสียงดังไปเสียงเบา ก็เป็นการฝึกทักษะในการควบคุมจังหวะให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เช่นกัน